วันศุกร์, 29 มีนาคม 2567

ประวัติ ความเป็นมา

ประวัติ ความเป็นมา และข้อมูลด้านอาคารสถานที่

ประวัติ ความเป็นมา ของวิทยาลัยฯ

วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองชัยภูมิ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองชัยภูมิเดิมเป็นวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม 2561 โดยสังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้อาคารเดิมของวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่ ถนนโนนม่วง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน 1 ตารางวา

หลังจากการได้ประกาศจัดตั้งแล้วกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้ง นายสืบพงษ์ รักษาทรัพย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสารพัดช่างพิจิตร มาทำหน้าที่ประสานงานการจัดตั้งโรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิอีกหน้าที่หนึ่งเป็นการชั่วคราวตามคำสั่งกรมอาชีวศึกษาที่ 550/2529 ลงวันที่ 6 มีนาคม 2529 และได้รับมอบ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ จากวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2529 โดยมีนายบุญเทียม เจริญยิ่ง รองอธิบดีกรมอาชีวศึกษามาเป็นประธานในการรับมอบ พร้อมด้วยผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรมอาชีวศึกษาหลายท่าน ต่อมากรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งให้ นายสืบพงษ์ เจริญทรัพย์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสารพัดช่างพิจิตร มาปฏิบัติหน้าที่ประจำในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิ ตามคำสั่งกรมอาชีวศึกษา ที่ 1006/2529 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2529 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2530 กรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งที่ 935/2530 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2530 แต่งตั้งให้ นายประชุมพงษ์ สมบูรณ์ศิลป์ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2530

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2533 กรมอาชีวศึกษาได้มีคำสั่งที่ 1940/2533 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2533 แต่งตั้งให้ นายพันธุ์ศักดิ์ โรจนากาศ ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคขอนแก่น เป็นผู้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิ ต่อมาวันที่ 7 มิถุนายน 2534 ได้รับการยกฐานะเป็น วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ
ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ คือ นายชูชาติ พรามจร ตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ และเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ได้รับการเปลี่ยนชื่อสถานศึกษาเป็น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองชัยภูมิ ปัจจุบันนี้ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองชัยภูมิ คือ นายประทีป อนิลบล ตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองชัยภูมิ

ประวัติการก่อตั้ง

วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ เดิมชื่อโรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2529 สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการโดยใช้อาคารเดิมของวิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ ตั้งอยู่ เลขที่ 380 ถนนโนนม่วง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

พ.ศ. 2529-2530 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายสืบพงษ์ รักษาทรัพย์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2530-2533 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายประชุมพงษ์ สมบูรณ์ศิลป์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2533-2541 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายพันธ์ศักดิ์ โรจนากาศ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2541-2542 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายสมชาย พงษ์นภางค์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2542 – 2554 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายปรีดา หลิมพาพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2554 – 2556 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายสมผัด อินทรมา ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2556 – 2558 กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายชูชาติ พรามจร ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน กรมอาชีวศึกษา แต่งตั้งให้นายปราโมทย์ ขุนเพ็ง ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

สถานที่ตั้งและขนาดของสถานศึกษา

วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ ตั้งอยู่เลขที่ 380 ก. ถนนโนนม่วง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ รหัสไปรษณีย์ 36000 ตั้งอยู่ที่ดินของราชพัสดุ 2 แปลงหมายเลขที่ 643 และ 670 มีเนื้อที่ประมาณ 7 ไร่ 2 งาน 1 ตารางวา

ข้อมูลด้านอาคารสถานที่

ชื่อสถานศึกษา            วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ

ชื่อภาษาอังกฤษ          Chaiyaphum Polyechnic college

ที่ตั้งสถานศึกษา          เลขที่ 380 หมู่ที่ – ถนน โนนม่วง ตำบล ในเมือง อำเภอ เมือง จังหวัด ชัยภูมิ รหัส 36000

โทรศัพท์ โทร. 044 812083

โทรสาร โทร. 044 811938

เว็บไซต์ www.cpmpoly.ac.th

อีเมล์     Chaiyaphum_380@hotmail.com

เนื้อที่ของสถานศึกษา

8 ไร่ 3 งาน 57 ตารางวา

มีอาคาร รวมทั้งสิ้น 7 หลัง มีห้องทั้งสิ้น 49 ห้อง ได้แก่

  1. อาคารเรียนและปฏิบัติการ 4 ชั้น จำนวน 4 หลัง 31 ห้อง
  2. อาคารเรียนและปฏิบัติการ 3 ชั้น จำนวน 2 หลัง 17 ห้อง
  3. อาคารเรียนและปฏิบัติการ 2 ชั้น จำนวน 1 หลัง 4 ห้อง
  4. เฟลตพักครู จำนวน 1 หลัง 14 ห้อง
  5. เฟลตนักการภารโรง จำนวน 1 หลัง 14 ห้อง
  6. บ้านพักครู จำนวน 4 หลัง
  7. บ้านนักการภารโรง จำนวน 1 หลัง
  8. อาคารพัสดุ จำนวน 1 หลัง

อื่น ๆ เช่น สีประจำ ต้นไม้ สัญลักษณ์ เพลง ของสถานศึกษา

Comments

comments